ยุทธการ “ห่านบิน”


ยุทธการ “ห่านบิน”

ผมเริ่มเข้าสู่วงการหุ้นเมื่อปีค.ศ. 1978 หรือ พ.ศ. 2521

โดยการเป็น Broker ในตลาด Commodity

โดยซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดญี่ปุ่นเป็นหลัก

โดยมีตลาด CBOT (Chicago Board Of Trade)

NYSE (New York Security Exchange)

เป็นตลาดรองและอ้างอิงในการซื้อขาย

ซึ่งเป็นตลาดที่เป็นแหล่งรวมเซียนที่มากและใหญ่ที่สุดในโลก

ตลาด TFEX และ AFEX ปัจจุบันของไทยที่เพิ่งเปิดเมื่อเร็วๆนี้

ถ้าเทียบกันแล้วยังห่างชั้นกันอีกมาก

ทั้งปริมาณซื้อขาย จำนวนสมาชิก และเทคนิคอื่นๆอีกมากมาย

สมัยนั้นการซื้อขายจะดูแนวโน้มและอ้างอิงจากค่า Currency เป็นสิ่งสำคัญที่สุด

สิ่งที่ผมจะต้องตรวจสอบความเคลื่อนไหวก่อนเริ่มงานทุกเช้าคือ “อัตราแลกเปลี่ยน”

 

 

 

 

ค่าของเงินสกุลหลักใหญ่ๆ มีผลต่อทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจของโลก

รวมทั้งแนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าจำพวก Commodities เป็นอย่างมาก

แม้ปัจจุบันได้เลิกร้างห่างหายการติดตามไปบ้าง แต่ก็ยังติดตามอยู่ห่างๆ

เมื่อราวปีค.ศ 1970 เศรษฐกิจอเมริกาเกิด Mini Crash

เนื่องจากขาดดุลทั้งบัญชีเดินสะพัดและขาดดุลการคลัง

ที่นักวิชาการเรียกว่า ขาดดุลแฝด” (Twin deficits)

ประเทศที่อเมริกาขาดดุลมากที่สุดคือญี่ปุ่น

เมื่อญี่ปุ่นได้เปรียบดุลการค้าจากอเมริกามากกว่า 10 ปี เป็นจำนวนมหาศาล

ดังนั้นอเมริกาจึงใช้มาตรการตอบโต้กดดันทุกวิถีทาง

โดยการบังคับให้ญี่ปุ่นปรับเปลี่ยนค่าเงินซึ่งขณะนั้นถ้าจำไม่ผิดอยู่ราวๆ 250 Yen / Dollar

 

และบังคับให้รับซื้อพันธบัตรที่อเมริกาออกมาเป็นจำนวนมาก

เพื่อช่วยอุดหนุน Support อุตสาหกรรมภายในประเทศอเมริกาเอง

ตามที่นักวิชาการเรียกมาตรการนั้นว่า Plaza accord ในปี 1985


พร้อมกับตั้งธงให้กองทุนภายในประเทศ

รวมทั้งจัดตั้งกองทัพกองทุน Hedge Fund ทั้งหลาย

ออกไปแสวงหาผลกำไรจากตลาดหุ้นต่างประเทศทั่วโลก

โดยไม่จำกัดปริมาณทั้งเครื่องมือทั้งทางตรงแลทางอ้อม

รวมทั้งไม่จำกัดทั้งวิถีทางและวิธีการแต่อย่างใด


เมื่อญี่ปุ่นถูกบังคับให้รับซื้อพันธบัตรจำนวนมาก

ทำให้ญี่ปุ่นมีเงินคงคลังเป็น US Dollar มากที่สุดในโลก

ในขณะที่อเมริกาปล่อยให้ค่าเงินของตนเองอ่อนค่าลงอย่างมาก

และใช้มาตรการ Farm Act sanction

(สนับสนุนด้านการเงินโดยอุดหนุนเกษตรกรในประเทศทุกวิถีทาง

เพื่อช่วยเหลือให้ส่งออกได้ในรัฐบาลสมัย จิมมี่ คาร์เตอร์)


ส่งผลให้เงิน Yen แข็งค่ามากขึ้นเรื่อยๆ จาก 250 Yen

จนถึง 100 Yen / Dollar ในเวลาอันรวดเร็ว
เมื่อญี่ปุ่นถูกกดดันมากๆเข้า ส่งออกได้น้อยลงเพราะค่าเงินแข็ง

เจ้าของอุตสาหกรรมส่งออกของญี่ปุ่นก็โวยวายว่า

“หากไม่รีบแก้ไข เห็นทีภาคการส่งออกต้องล้มละลายระเนระนาดแน่”

รัฐบาลญี่ปุ่นจึงระดมสมองมาช่วยแก้ไขด้วยวิธีที่เรียกว่า

ยุทธการ ห่านบิน” (Flying Geese)


ยุทธการ “ห่านบิน”

ยุทธการ “ห่านบิน” คือ “การอพยพย้ายถิ่นฐานที่อยู่ เพื่อเปลี่ยนแหล่งอาหารไปยังแหล่งที่อุดมสมบูรณ์กว่า”

 

 

 

 

 

 

 

 

โดยการนำเงินสำรองคงคลังที่เป็นสกุล Dollar ซึ่งมีค่าด้อยลงไปเรื่อยๆ

ออกไปลงทุนทั่วโลกโดยเฉพาะแถบเอเซีย ซึ่งรวมทั้งไทยด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ

 

 

 

 

 

แปลงสินทรัพย์เงินที่อ่อนค่าให้เกิดผลผลิตในเชิงได้เปรียบ

โดยการย้ายฐานการผลิตออกนอกญี่ปุ่น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เมื่อญี่ปุ่นผลักภาระโดยการนำเงิน Dollar ที่อ่อนค่าลงเรื่อยๆ

ไปลงทุนต่างประเทศ ซึ่งมีทั้ง ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลี

และไทยก็ได้รับอานิสงส์ผลดีจากการนั้นด้วย

อุตสาหกรรมการส่งออกของไทยในตอนนั้นกว่า 80 % เป็นการรับจ้างผลิตโดยญี่ปุ่น

โดยอาศัยแรงงานราคาถูกของไทย แต่สั่งวัตถุดิบต้นน้ำจากต่างประเทศ

หลังจากผลิตเพื่อส่งออกแล้ว

จึงนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปมาจำหน่ายภายในประเทศไทยอีกที

เศรษฐกิจของไทยในยุคนั้น เรียกได้ว่า

เป็น ” ยุคโชติช่วงชัชวาล “


เงินคงคลังจากไม่กี่พันล้านเหรียญ

ก็เพิ่มขึ้นกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญ

โดยมีภาคการส่งออกเป็นเรือธงนำหน้า

โดยไทยถูกจัดให้เป็นเสือตัวที่ 6

ตามหลัง 5 เสือแห่งเอเชียก่อนหน้านั้น


 

การที่ญี่ปุ่นกระจายฐานการผลิตไปทั่วโลกโดยเฉพาะเอเซีย ซึ่งอยู่ใกล้

ยิ่งทำให้เกินดุลการค้าต่ออเมริกาและต่อโลกเป็นจำนวนมากขึ้นกว่าเดิม

 

 

 

จนญี่ปุ่นตระหนักดีว่า :

หากขนเงินกลับประเทศตัวเอง ค่าเงินก็จะยิ่งแข็งไปกันใหญ่

 

จึงแก้ปัญหาโดยการจัดสรรเงินให้ความช่วยเหลือ(ให้กู้)ระยะยาว

แก่ประเทศที่ญี่ปุ่นเข้าครอบงำทางเศรษฐกิจทั้งหลาย

 

โดยการให้กู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำ เป็นเวลา 10-50 ปีขึ้นไปด้วยเงิน Dollar

 

โดยมี Option ไม่ระบุค่าเงินที่จะชดใช้คืนในภายภาคหน้า

อาจเป็น Yen, US Dollar, Pond หรืออะไรก็ได้สุดแท้แต่ญี่ปุ่นจะเรียกคืนในภายหลัง


ซึ่งวิธีนี้ ทำให้ญี่ปุ่นสามารถกำหนดค่าเงินในอนาคตของตนเองได้อย่างสิ้นเชิง

ถึงแม้จะได้เปรียบดุลการค้าทั่วโลกมากมายมหาศาลจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ก็ตาม



19 Responses to “ยุทธการ “ห่านบิน””

  1. Eto Demerzel Says:

    ขอบคุณมากครับ พี่ matrix เป็นบทความที่ดีมากๆ
    สมควรที่นักลงทุนในไทยทุกคนจะอ่านไว้เป็นอาหารสมอง

  2. thitis Says:

    หาอ่านได้ยากยิ่งครับ

  3. Raphin Says:

    ขอบคุณครับพี่ matrix
    ติดตามอ่านบทความของพี่ตลอดครับ

  4. โอ@ Says:

    เข้ามาลงชื่อนับถือฝีมือพี่แมทครับ

  5. Onokung Says:

    สุดยอดจริงๆ ครับ พี่เมทริก
    เปิดหูเปิดตาผม….อย่างแรง !!!

  6. nano Says:

    ขอบคุณมากครับ เปิดหูเปิดตาได้มากเลย

  7. tachikoma Says:

    ขอบคุณมากครับพี่เมทริก
    ได้เปิดหูเปิดตาแล้ว

  8. bajjo Says:

    สาเหตุที่ญี่ปุ่นเกินดุล แล้วก็เกินดุลไปเรื่อยๆ
    ก็เพราะอย่างนี้นี่เอง
    ขอบคุณที่แนะนำให้อ่านครับ

  9. DerDen Says:

    สุดยอดครับ พี่ ขอบคุณมากครับ

  10. tatandchin Says:

    ขอบคุณสำหรับความรู้ที่พี่มอบให้ครับ (แต่ทำไมต้องเป็นห่าน ไม่เป็นสัตว์ปีกชนิดอื่น หรือสัตว์ชนิดอื่นที่สามารถอพยพข้ามแดนได้เพื่อหาแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์กว่านะ)

  11. NinjaTurtle Says:

    เป็นความรู้ที่บริโภคได้ทันที Instant Knowledge แทบไม่ต้องย่อยเลยครับ เข้าใจง่าย รู้เรื่องมากๆครับพี่

  12. apichai214 Says:

    ขอบคุณมากครับ ที่เขียนบทความดีๆ มาให้อ่าน เขียนอีกเยอะๆเลยนะพี่ (ถ้าไม่เหนื่อยซะก่อน)แล้วจะรออ่าน

  13. Matrix Says:

    ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่าน ที่แวะมาทักทายเยี่ยมเยียน

    และขอบคุณสำหรับคำชมของทุกท่านครับ

    ขอถือเป็นกำลังใจ เพื่อพยายามเขียนให้ดีกว่านี้ต่อไปครับ 😉

  14. โหน่ง Says:

    หาฟังที่ไหนไม่ได้นะครับ ต้องที่นี่ที่เดียว ขอบคุณครับ

    flying geese กำลังเกิดขึ้นกับ จีน ใช่ไหมครับพี่แมกซ์

    น่าทึ่งมากครับ วิธีคิดของคนญี่ปุ่น พี่แมกซ์ มีอีกไหม อยากฟังอีกครับ

  15. jovial_ace Says:

    ขอบคุณมาก ให้ความรู้ดีมากเลย

  16. 7 Says:

    สุดยอดกลยุทธเลยนะเนี่ย นับถือ นับถือ

  17. kok2029 Says:

    ล้ำลึกๆ ข้าน้อยขอคารวะ


ใส่ความเห็น